Posts

Jeux à gratter - ปลุกผีพนันในตัวคุณ ด้วย ฉลากขูดเสี่ยงโชค

Image
หากพูดถึงเรื่องการเล่นเกมพนันเสี่ยงโชคลุ้นรางวัลแล้ว ต้องยอมรับเลยค่ะว่าคนฝรั่งเศสนั้นเขาก็ไม่น้อยหน้าใคร และในประเทศนี้ก็มีเกมเสี่ยงโชคอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เพราะเล่นง่าย เล่นกันได้ทุกวัน ทุกที่ ทุกเวลาแบบไม่ต้องมานั่งกาปฏิทินนับวันรอการประกาศรางวัลเหมือนกับเกมบางประเภท โดยเกมชนิดนี้นั้น คนฝรั่งเศสเขาเรียกกันว่า Jeux à gratter (เฌอซ์ อา กรัตเตร์) ค่ะ Jeux à gratter - ฉลากขูด เสี่ยงโชค หรือที่คนไทยในฝรั่งเศสมักนิยมเรียกกันว่า ‘ หวยขูด ’ นั้นมีมากมายหลายรูปแบบหลากราคา เริ่มต้นตั้งแต่ใบละ 1 ยูโรไปจนถึงแพงสุด 15 ยูโรก็มีค่ะ และรางวัลก็มีตั้งแต่ 1 ยูโรจนถึงสูงสุด 1.5 ล้านยูโรเลยทีเดียว ! แถมยังมีข่าวว่ามีคนเคยถูกรางวัลเลข 6 หลักนี่แล้วจริงๆ ด้วย - ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าน่าเสี่ยงมากเลยใช่มั้ยล่ะคะ 😆 หน้าตาฉลากขูดเสี่ยงโชคแบบต่างๆ ทั้งนี้ต้องขอออกตัวก่อนเลยว่าเรานั้นเป็นคนไม่ค่อยชอบความเสี่ยงค่ะ เลยแทบไม่เคยได้เล่นเกมอะไรแบบนี้กับเขา แต่วันนั้นบังเอิญได้ฉลากพวกนี้มาจากเพื่อนคนหนึ่งซึ่งเขาซื้อมาให้พวกเราขูดกันเล่นๆ ขำๆ โดยกฎกติกาของฉลากเซ็ตนี้มีอยู่ว่า หา

ฝรั่งเศสทั้งตัวเอาใบบัวปิดไม่มิด ตอน งานวัดสไตล์ฝรั่งเศส

Image
เวลาเอ่ยถึงงานวัด เชื่อว่าภาพที่ผุดขึ้นในหัวของใครหลายๆ คนคือ ม้าหมุน ชิงช้าสวรรค์ ร้านขายขนม - ของเล่น แผงลูกชิ้นปิ้ง โชว์รถไต่ถัง ไปจนถึงการยิงปืนจุกน้ำปลา แต่งานวัดที่ Pat the Expat จะมารีวิวให้ทุกคนอ่านกันในบทความนี้นั้นเป็นงานวัดในแบบฉบับของคนฝรั่งเศสค่ะ เนื่องจากไม่รู้จะหาคำไหนมาเรียกในภาษาไทย แต่หากนำมาเทียบกับวัฒนธรรมไทยเราแล้ว fête foraine (แฟ็ต ฟอแ(ค)รน) หรือ ‘foire’ (ฟัวร์) หรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกกันว่า funfair   ก็เหมือน งานวัด หรืองานฤดูหนาวดีๆ นี่เอง เพราะมีทั้งเครื่องเล่น เกม และแผงขายขนมมากมายละลานตา จะต่างกันก็ตรงที่เขาไม่ได้จัดกันภายในบริเวณวัดหรือโบสถ์ เนื่องจากไม่ใช่กิจกรรมเพื่อจุนเจือศาสนาเหมือนกับของไทย ซึ่งคนเมือง Lyon เขาก็มีคำศัพท์สำหรับเรียกงานวัดประเภทนี้เป็นของตัวเอง นั่นก็คือคำว่า ‘vogue’   (ว้อก(เกอะ))   ดังนั้นต่อไปนี้จะขออนุญาตเรียกงานประเภทนี้ว่า ‘ งาน vogue’ เพื่อความคล้องจองนะคะ  บรรยากาศงาน fête foraine เมือง Lille   หนึ่งในเกมฝึกทักษะทางกายภาพ โหนได้นานเกิน X วินาที มีรางวัลให้ งาน vogue แบบฉบับชาวเมืองลียงนั้น จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่

Music Fest in Lille เดินไปไหนก็ได้ยินเสียงดนตรี

Image
English version click here   แม้เสียงดนตรีจะไม่มีฤดูกาล แต่งานเทศกาลดนตรีของประเทศแถบตะวันตกมักจะมีขึ้นในช่วงฤดูร้อนหรือในยามที่อากาศเริ่มอบอุ่นแล้ว เพราะฉะนั้นทุกวันที่ 21 มิถุนายนของทุกปีจึงถือเป็นวันที่คึกคักที่สุดของคนบนโลก เพราะวันนี้คือ ‘ วันดนตรีโลก ’ และต้นกำเนิดของวันเทศกาลนี้ก็เริ่มต้นขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศสนี่เองค่ะ  แรกเริ่มเดิมทีไอเดียนี้มาจากศิลปินชาวอเมริกันนาม Joel Cohen   ที่ ณ ขณะนั้นทำงานให้กับคลื่นวิทยุ France Musique (ฟรองซ์ มูซิค) ได้เสนอให้ทางสถานีจัดกิจกรรมดนตรีในวันที่ 21 มิถุนายน และ 21 ธันวาคม ซึ่งทั้งสองวันนี้คือวันแห่ง ปรากฏการณ์อายัน (solstice) และในวันที่ 21 มิถุนายน ปี 1976 ก็ได้มีการจัดงานดนตรีขึ้นจริงๆ ที่ปารีสฝั่งตะวันตกและเมือง Toulouse (ตูลูส)   ต่อมาในปี 1981 André Henry (อ็องเดร อ็อง(ค)รี) รัฐมนตรีกระทรวงสันทนาการในขณะนั้นได้จัดกิจกรรมดนตรีในปารีสเพื่อเฉลิมฉลองโอกาสที่ François Mitterrand (ฟร็องซัวส์ มิแตร์(ค)รองด์) ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีของฝรั่งเศส มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมฟรีคอนเสิร์ตนี้นับแสนคน ในปีต่อมา Jack Lang (ฌัค ล็อง) รัฐมน